“เรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน” แต่ถูกข่มขู่-คุกคาม ต้องทำอย่างไร

สืบเนื่องจากมีผู้โดยสารหลายรายออกมาทวีตข้อความผ่านแอปพลิเคชัน X (ทวิตเตอร์) บอกเล่าเหตุการณ์ที่ตนเองถูกข่มขู่ คุกคาม หรือได้รับความเสียหายจากการใช้บริการเรียกรถผ่านแอปฯ ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการให้บริการรถขนส่งสาธารณะ ทำให้ผู้โดยสารจำนวนมากเกิดความกังวลเรื่องความปลอดภัยในการใช้บริการเรียกรถผ่านแอปฯ ทางสภาองค์กรของผู้บริโภค จึงมีข้อแนะนำเบื้องต้น ดังนี้

  • ผู้โดยสารสามารถสังเกตตัวรถที่นำมาให้บริการว่า เป็นรถที่จดทะเบียนถูกต้องหรือไม่ โดยหากเป็นรถแท็กซี่ ต้องจดทะเบียนรถเป็นรถยนต์สาธารณะ (ป้ายเหลือง)

คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

“แรมโบ้อีสาน” ให้ข้อมูลปปป. แฉ แก๊งนักร้อง ข่มขู่-กรรโชกทรัพย์

นับถอยหลัง "ทักษิณ ชินวัตร" พักโทษ ปล่อยตัวกลับบ้าน

  • รถยนต์ส่วนบุคคลที่รับจ้างผ่านแอปพลิเคชัน ต้องจดทะเบียนเปลี่ยนประเภทเป็น “รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์” และติดสติ๊กเกอร์สัญลักษณ์ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังรถที่เห็นได้ชัดเจน
  • สำหรับรถจักรยานยนต์รับจ้างผ่านแอปพลิเคชันที่ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องเป็นรถจักรยานยนต์สาธารณะ (ป้ายเหลือง) และคนขับจะต้องใส่เสื้อคลุมของแต่ละแอปพลิเคชันเมื่อให้บริการด้วย

ในกรณีที่ผู้โดยสารถูกคุกคาม หรือเจอปัญหาและไม่ได้รับความปลอดภัยจากการใช้บริการขนส่ง แนะนำให้ทำตามขั้นตอน ดังนี้ 1. ) เก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญ เช่น ป้ายทะเบียนรถ ชื่อคนขับ สีและยี่ห้อของรถยนต์ หรือของรถจักรยานยนต์สาธารณะ และหากมีภาพประกอบอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์คนขับ รวมถึงหน้าโปรไฟล์ของคนขับในแอปฯ บทสนทนาการพูดคุยผ่านแอปฯ สามารถใช้เป็นหลักฐานได้เช่นกัน 2.) ร้องเรียนผ่านแอปฯ เรียกรถต่าง ๆ ที่เราใช้บริการ โดยแต่ละแอปฯ จะมีเมนูให้กดร้องเรียนหรือพูดคุยกับคอลเซนเตอร์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นโดยตรง เพื่อให้ทางคอลเซนเตอร์ทำการหักคะแนนคนขับหรือปิดบัญชีผู้ใช้ไม่อนุญาตให้คนขับรับผู้โดยสารต่อได้ เราสามารถนำหลักฐานที่มียื่นต่อคอลเซนเตอร์และนำไปแจ้งความดำเนินเรื่องเอาผิดคนขับที่สถานีตำรวจที่ใกล้ที่สุดได้ 3.) หากไม่ได้รับการเยียวยาที่เหมาะสม สามารถร้องเรียนได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารสาธารณะ สายด่วน 1584 หรือร้องเรียนกับสภาผู้บริโภค ตามช่องทางดังต่อไปนี้

  • ร้องเรียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์สภาองค์กรของผู้บริโภค tcc.or.th
  • โทรศัพท์ : 02 239 1839 กด 1, 081 134 9215 หรือ 081 134 9216
  • เฟซบุ๊ก: สภาองค์กรของผู้บริโภค

โดยสรุปเมื่อเราถูกข่มขู่ หรือคุกคามจากการเรียกรถผ่านแอปฯ ควรตั้งสติและพยายามเก็บรวบรวมหลักฐานให้ได้มากที่สุดแล้วจึงนำหลักฐานมายื่นให้คอลเซนเตอร์ของแต่ละแอปฯ และนำไปแจ้งความเพื่อเรียกตัวคนขับรถมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

เปิดตำราข้อควรปฏิบัติของชาวพุทธ ใน “วันมาฆบูชา 2567”

ย้อนฟังเรื่องราว “ไอซ์ ปรีชญา” มรสุมทดสอบชีวิต

ราชทัณฑ์ แจงปล่อยตัวพักโทษ “ทักษิณ” เป็นไปตามกฎหมาย

 “เรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน” แต่ถูกข่มขู่-คุกคาม ต้องทำอย่างไร