“คิม จองอึน” พบ “ปูติน” คาดขายอาวุธต่อเวลาสงครามในยูเครน
เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา KCNA สื่อทางการเกาหลีเหนือเผยแพร่ภาพของคิม จองอึน ผู้นำสูงสุด ขณะที่ออกเดินทางจากกรุงเปียงยางด้วยรถไฟหุ้มเกราะ เพื่อมุ่งหน้าไปยังเมืองวลาดิวอสต็อก เมืองท่าริมมหาสมุทรแปซิฟิกในภูมิภาคตะวันออกไกลของรัสเซีย
เป้าหมายในการเดินทางเยือนครั้งนี้ ถูกระบุว่าเป็นไปเพื่อเข้าร่วมการประชุม Eastern Economic Forum โดยผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือได้เดินทางไปพร้อมกับผู้แทนของบริษัทอาวุธและเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายคน รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศด้วย
คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ผู้นำเกาหลีเหนือจ่อเยือนรัสเซียพบ “ปูติน” ถกความร่วมมือทางทหาร
สื่อเกาหลีใต้รายงาน “คิม จองอึน” กำลังนั่งรถไฟมุ่งหน้าไปรัสเซีย
ครม.เศรษฐา แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา วันที่สอง 12 ก.ย. 2566
ขณะเดียวกัน ผู้นำเกาหลีเหนือก็มีกำหนดการที่จะเข้าพบและหารือกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซีย การเดินทางครั้งนี้ถือเป็นการเดินทางไปต่างประเทศครั้งที่ 10 ของคิม จองอึน นับตั้งแต่ขึ้นครองอำนาจเป็นผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือในปี 2011
ส่วนการเดินทางเยือน 9 ครั้งก่อนหน้านี้เกิดขึ้นในช่วงปี 2018-2019 โดยเป็นการเดินทางไปเยือนจีน 4 ครั้ง เกาหลีใต้ 2 ครั้ง และสิงคโปร์ เวียดนาม และรัสเซียอย่างละ 1 ครั้ง สำหรับการเดินทางไปรัสเซียครั้งนี้ ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือได้เดินทางโดยใช้รถไฟหุ้มเกราะ ซึ่งเป็นวิธีการเดินทางแบบเดียวกับที่ คิม จองอิล ผู้เป็นบิดามักทำในสมัยเป็นผู้นำประเทศ
สำหรับบรรยากาศที่เมืองวลาดิวอสต็อกซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของคิม จองอึน ชาวเมืองบางคนบอกว่า ยินดีต้อนรับการมาของผู้นำเกาหลีเหนือ
สำหรับเป้าหมายในการเดินทาง นอกเหนือจากการร่วมประชุมเวที Eastern Economic Forum แล้ว หลายฝ่ายคาดว่า ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนืออาจมีกำหนดการพบและหารือกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียเป็นการส่วนตัวด้วย ด้านดมิทรี เปสคอฟ โฆษกรัฐบาลได้ออกมาระบุเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาว่า หากผู้นำทั้งสองต้องการหารือร่วมกัน การหารือดังกล่าวจะเป็นการหารือแบบส่วนตัวและอาจไม่มีการแถลงข่าว
หลายฝ่ายคาดว่า ประเด็นสำคัญที่สุดในการเจรจาคือ การที่รัสเซียเจรจาขอซื้ออาวุธจากเกาหลีเหนือเพื่อไปใช้ทำสงครามในยูเครน การคาดการณ์อาจเป็นเรื่องที่ไม่เกินจริง หากพิจารณาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หลังมีภาพของพลเอกเซอร์เก ชอยกู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรัสเซีย กำลังเดินชมอาวุธและขีปนาวุธต้องห้ามหลายรายการในระหว่างการเดินทางเยือนกรุงเปียงยาง เพื่อร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 70 ปี “วันแห่งชัยชนะ” ของเกาหลีเหนือ หลังแผนการพบกันของคึม จอง อึน และปูตินได้รับการยืนยัน และมีภาพของผู้นำเกาหลีเหนือขึ้นรถไฟออกมา
แมทธิว มิลเลอร์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ได้เปิดแถลงข่าวทันทีโดยระบุว่า สหรัฐฯ จับตาดูการพบกันของผู้นำเกาหลีเหนือและรัสเซียอย่างใกล้ชิด และถ้าทั้งสองชาติเจรจาซื้อขายอาวุธกันจริง จะถือเป็นการข้อละเมิดมติของคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ และสหรัฐฯ อาจใช้มาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติม
นอกจากการเตือนของโฆษกฯ ต่างประเทศสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว ก็ได้ออกมาเตือนเช่นเดียวกันว่า เกาหลีเหนือมีราคาที่ต้องจ่าย หากทำข้อตกลงด้านอาวุธกับรัสเซีย
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีข่าวว่ารัสเซียพยายามขอซื้ออาวุธจากเกาหลีเหนือ สำนักข่าวต่างประเทศหลายสำนักรายงานตั้งแต่เมื่อช่วงปลายปีที่แล้วว่า รัสเซียได้พยายามเจรจาขอซื้ออาวุธจากเกาหลีเหนือ ย้อนกลับไปในเดือนกันยายน ปี 2022 สื่อหลายสำนักของสหรัฐฯ รวมถึงนิวยอร์กไทม์รายงานว่า กองทัพรัสเซียกำลังหันเข้าหาเกาหลีเหนือเพื่อจัดซื้อยุทโธปกรณ์หลังจากขาดแคลนอาวุธ เนื่องมาจากมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก
หลังจากนั้น พลจัตวา แพท ไรเดอร์ โฆษกกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือเพนตากอน ได้ออกมายืนยันว่า รัสเซียติดต่อเกาหลีเหนือเพื่อซื้ออาวุธจริง ในวันนั้นไม่มีการระบุรายละเอียดเกี่ยวกับประเภทของอาวุธ ปริมาณและระยะเวลาการส่งมอบ รวมถึงวิธีการที่ขนส่งที่ชัดเจนแต่คาดว่าในบรรดาอาวุธที่รัสเซียสั่งซื้อจำนวนมากจะเป็นจรวดและกระสุนปืนใหญ่
กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ บอกว่า การหันไปพึ่งอาวุธจากเกาหลีเหนือแสดงให้เห็นว่า รัสเซียกำลังมีปัญหาการผลิตอาวุธอย่างหนัก เพราะไม่สามารถผลิตได้แม้แต่อาวุธขั้นพื้นฐาน การคว่ำบาตรของตะวันตกทำให้อุตสาหกรรมผลิตอาวุธของรัสเซียกำลังมีปัญหา ไม่เพียงแต่ขาดแคลนอาวุธพื้นฐาน แต่ยังกระทบกับการผลิตอาวุธประสิทธิภาพสูง เช่น ขีปนาวุธความแม่นยำสูงด้วย เพราะเพราะอะไหล่และชิ้นส่วนจำนวนมากต้องสั่งซื้อและนำเข้าจากชาติตะวันตก
ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่ไม่เปิดเผยชื่อระบุกับเดอะ นิวยอร์ก ไทมส์ว่า อาวุธที่ประธานาธิบดีรัสเซียต้องการจากเกาหลีเหนือคือ กระสุนปืนใหญ่ชนิด 52 มิลลิเมตร และขีปนาวุธต่อต้านรถถัง
ความเห็นของเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ดังกล่าว สอดคล้องกับความเห็นของ ลี อิลโว ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบป้องกันของเกาหลีใต้ที่ระบุว่า หลังจากเกาหลีเหนือแยกออกจากเกาหลีใต้ไปเมื่อหลายทศวรรษก่อน สิ่งหนึ่งที่เกาหลีเหนือได้รับและเก็บสะสมไว้คือ กระสุนปืนใหญ่ยุคโซเวียตจำนวนหลายแสนนัด สอดคล้องกับรายงานของสถาบันเพื่อยุทธศาสตร์ศึกษา หรือ IISS ที่ระบุว่าเกาหลีเหนืออาจมีชิ้นส่วนปืนใหญ่อยู่ราวๆ 20,000 ชิ้น ซึ่งรวมถึงเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องด้วย
อย่างไรก็ดี บรูซ เบนเนตต์ นักวิเคราะห์อาวุโสด้านความมั่นคงประจำสถาบันวิจัยแคลิฟอร์เนีย ที่ให้ความเห็นไว้เมื่อช่วงปลายปีที่แล้วว่า กระสุนปืนใหญ่ส่วนใหญ่ที่จะถูกส่งไปยังรัสเซียอาจเป็นกระสุนสำหรับอาวุธขนาดเล็ก เช่น ปืนไรเฟิล เอเค-47 หรือปืนกล ซึ่งเกาหลีเหนือมีกระสุนประเภทนี้อยู่หลายล้านนัด
สาเหตุหนึ่งที่รัสเซียเลือกซื้ออาวุธจากเกาหลีเหนือ เป็นเพราะเกาหลีเหนือคือผู้ส่งออกอาวุธรายสำคัญ โดยเฉพาะในตลาดมืด เนื่องจากไม่สามารถขายอาวุธได้โดยตรงตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน สำนักข่าวของชาติตะวันตกหลายสำนัก ทั้งซีเอ็นเอ็น และเดอะการ์เดียน รายงานโดยใช้ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญในกรุงเจนีวา ที่ระบุว่า เกาหลีเหนือคือหนึ่งในผู้ลักลอบส่งออกอาวุธขนาดเล็กจำนวนมากโดยเฉพาะปืนกลคาลาชนิคอฟ และจรวด
เมื่อปี 2009 ทางการไทยได้สกัดเครื่องบินบรรทุกที่เดินทางมาจากเกาหลีเหนือ ที่พยายามส่งออกอาวุธขนาดเล็กประมาณ 40 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 630 ล้านบาท ไปยังอิหร่านขณะเดียวกัน ในเดือนสิงหาคม ปี 2016 ทางการอียิปต์ได้ตรวจและสกัดเรือลำหนึ่งของเกาหลีเหนือ ก่อนที่จะตรวจสอบพบว่าเรือลำดังกล่าวได้ซ่อนหัวจรวดพีจี -7 กว่า 30,000 หัวไว้ใต้แร่เหล็กขนาด 2,300 ตัน การจับกุมและสกัดอาวุธของเกาหลีเหนือของทั้งไทยและอียิปต์นั้น เป็นไปตามข้อมติที่ 1874 ของสหประชาชาติที่ออกมาเมื่อปี 2009 ข้อมติดังกล่าวมีเนื้อหาสาระ คือ ขยายมาตรการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือให้ครอบคลุมอาวุธทุกประเภท ขณะเดียวกัน
ยูเอ็นก็ห้ามไม่ให้เกาหลีเหนือซื้อขายอาวุธขนาดเล็กและกระสุนอาวุธเบา ตลอดจนแร่ธาตุและโลหะบางชนิด ตลอดจนสนับสนุนให้รัฐสมาชิกทำลายวัสดุใดๆ ที่ต้องสงสัยว่าเกาหลีเหนือกำลังละเมิดข้อมติ 1874
ดังนั้นหากเกาหลีเหนือส่งอาวุธให้รัสเซียจริง จะเป็นการละเมิดมติของสหประชาชาติที่ห้ามเกาหลีเหนือขายอาวุธให้กับประเทศอื่น และเป็นที่มาของการออกมาเตือนจากทางรัฐบาลสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี หลายฝ่ายคาดว่าเกาหลีเหนืออาจเมินคำขู่ของสหรัฐฯ และขายอาวุธให้รัสเซีย แต่คำถามที่สำคัญคือ อาวุธเหล่านี้จะเปลี่ยนทิศทางของสงครามในยูเครนได้หรือไม่
แพทริเซีย ลูอิส นักวิเคราะห์และผู้อำนวยการโครงการความมั่นคงระหว่างประเทศจากชาธามเฮาส์ของสหราชอาณาจักร ให้ความเห็นเรื่องการขายอาวุธของเกาหลีเหนือให้แก่รัสเซีย โดยระบุว่า อาวุธของเกาหลีเหนือจะไม่เปลี่ยนสมดุลของสงครามยูเครนที่ดำเนินอยู่ในทันที เนื่องจาก 2 ปัจจัยหลักคือ เวลาในการขนส่งและคุณภาพของอาวุธ
สำหรับประเด็นแรก ระยะเวลาในการขนส่งอาวุธผู้อำนวยการโครงการความมั่นคงระหว่างประเทศให้ความเห็นว่า หากทั้งสองผู้นำทำข้อตกลงขนส่งอาวุธจริง การขนส่งอาวุธจากเกาหลีเหนือไปยังรัสเซีย จะต้องข้ามทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรีย จากวลาดิวอสต็อกทางตะวันออก ไปยังมอสโกทางตะวันตก มีระยะทางไกล 9,173 กิโลเมตร และใช้เวลานานหลายวัน
ส่วนประเด็นที่สอง คุณภาพของอาวุธ ผู้อำนวยการโครงการความมั่นคงระหว่างประเทศระบุว่า แม้เกาหลีเหนือจะมีอาวุธที่รัสเซียต้องการ แต่อาวุธเหล่านั้นไม่ได้มีคุณภาพสูงมากพอที่จะสร้างความได้เปรียบในสนามรบ ความเห็นเช่นนี้สอดคล้องกับการประเมินของ IISS ที่ชี้ให้เห็นว่าอาวุธของเกาหลีเหนือมีความแม่นยำต่ำมาก
ย้อนกลับไปในปี 2010 ระหว่างการทิ้งระเบิดด้วยปืนใหญ่ของเกาหลีเหนือบนเกาะยอนพยองของเกาหลีใต้ เกาหลีเหนือได้ยิงอาวุธประมาณ 300-400 ครั้ง แต่มีเพียงแค่ 80 ครั้งเท่านั้นที่เข้าสู่เป้าหมายบนพื้นดิน หรือราวร้อยละ 26 ส่วนที่เหลือตกลงไปในน้ำก่อนถึงเกาะยอนพยอง
บรูซ เบนเนตต์ นักวิเคราะห์อาวุโสด้านความมั่นคงประจำสถาบันวิจัยแคลิฟอร์เนีย ระบุว่า หากรัสเซียซื้ออาวุธจากเกาหลีเหนือ รัสเซียอาจเผชิญกับปัญหาอาวุธมีความแม่นยำต่ำจนทำให้เกิดความไม่พอใจได้
ทั้งนี้ แพทริเซีย ลูอิส ผู้อำนวยการโครงการความมั่นคงระหว่างประเทศ ให้ความเห็นที่ต่างออกไปว่า รัสเซียอาจรู้เรื่องความแม่นยำของอาวุธเกาหลีเหนือดี แต่รัสเซียไม่ได้มีทางเลือกมากนัก เนื่องจากจีนที่เป็นพันธมิตรและมีอาวุธประเภทที่รัสเซียต้องการ ก็ยืนยันจุดยืนชัดเจนว่าจะไม่ส่งออกอาวุธไปยังประเทศที่มีความขัดแย้ง
ประกาศแจ้งจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด "เข้าบัญชี 18 ก.ย.2566" แน่นอน
ส่อง “ร้านอาหารเกาหลีเหนือ” ในต่างประเทศ ไม่มีลูกค้าแต่เงินสะพัด
ส่องสีใหม่ "iPhone 15" และ "iPhone 15 Pro" ก่อนเปิดตัวกันยายนนี้